วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปองความรู้ที่ได้จากการศึกษา โทรทัศน์ครู


โทรทัศน์ครู เรื่อง .... โปรแกรมการเรียนรู้แบบไฮสโคป



สรุปองค์ความรู้ที่ได้


วิจัย


การคิดอย่างมีเหตุผลขอบเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ปริญญานิพนธ์
ของ
สายทิพย์  ศรีแก้วทุม


สิ่งที่ได้จากการอ่าน ....

        เด็กปฐมวัย สิ่งสำคัญที่สามารถทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีคือ การที่เด็กได้ทำกิจกรรมศิลปะ ในขณะการที่กิจกรรมนั้น เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้ ได้คิดแก้ปัญหา มีการสังเกต มีตั้งคำถาม  เด็กค้นพบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เอง ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ ทั้งส่วนที่เป็นเหตุผล ตลอดจนสิ่งแวดล้อมรอบตัว

        กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เป็นวิธีการสอนอีกทางหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการการครบทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ประเมินจากกิจกรรมและผลจากการทำกิจกรรม เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ ซึ่งพัฒนาให้เด็กได้คิดอย่างมีเหตุ มีผล  เป็นการเตรียมความพร้อม และส่งเสริมทักษะในด้านอื่นๆ ต่อไป

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 16


วิชาการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

สัปดาห์ที่16     เวลา14.10 17.30 น.

วันที่ 30 กันยายน  2556

การเรียนการสอน

            ข้าพเจ้านำเสนอ การทดลองน้ำอักลมฟองฟู

วัตถุประสงค์

1.      แยกความแตกต่างระหว่าง  น้ำตาลกับเกลือ

2.      เรียนรู้เรื่องลม และฟอง ในน้ำอัดลม

3.      เรียนรู้เรื่องการละลาย

วิธีการทดลอง

เตรียมอุปกรณ์ วางไว้บนโต๊ะ แล้วใช้คำถามเพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต

ครูตัก น้ำตาล  กับเกลือ ให้เด็กได้สังเกต คำถาม “เด็กๆลองสังเกตดูสิว่า น้ำตาล และเกลือ มีลักษณะอย่างไร”

ครูให้เด็ก ตักน้ำตาล ใส่น้ำอัดลม ใบที่1 ให้เด็กสังเกตว่ามีอะไรพุ่งออกมาจากปากกระป๋อง

ครูให้เด็ก ตักเกลือ  ใส่น้ำอัดลม  ใบที่2 ให้เด็กสังเกตว่ามีอะไรพุ่งออกมาจากปากกระป๋อง

ให้เด็กทายว่า เม็ดน้ำตาล กับเกลือ ที่ใส่ลงไปในกระป๋องนั้นจะเป็นอย่างไร




ความรู้ที่ได้รับในการทดลอง

1.      น้ำตาลเม็ดเล็ก กว่าเกลือ และละเอียดกว่า

2.      ในกระป๋องน้ำอัดลมจะ มีลมอยู่นั้น


มอบหมายงาน

            ให้นักศึกษาตามงาน แล้วส่งให้เรียบร้อย ก่อนปิดภาคเรียน

สัปดาห์ที่ 15


วิชาการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

สัปดาห์ที่15  เวลา14.10 17.30 น.

วันที่ 23 กันยายน  2556

การเรียนการสอน

ทำอาหาร

 ส่วนประกอบของข้าวผัด วัตถุดิบ การทำมีดังต่อไปนี้

ข้าว,ไข่ไก่,แครอท,มะเขือเทศ,ข้าวโพด,เนื้อ หมู กุ้ง ไก่ หมึก,ต้นหอม,ถั่ว,กระเทียม

 เครื่องปรุงของข้าวผัด

น้ำมัน,น้ำปลา,น้ำตาล,รสดี,ซีอิ๊วขวา,ซอสหอยนางรม

 อุปกรณ์

กระทะ,ตะหลิว,กะละมัง,ช้อน/จาน,มีด/เขียง

ขั้นตอนการทำข้าวผัด

1. ล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก  เตรียมวัตถุดิบ หั่นเนื้อหมู หั่นผัก

2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันแล้วรอให้น้ำมันร้อน

3. โขลกกระเทียมใส่กระทะ

4. พอกระเทียมเริ่มหอมแล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้

5. ผัดให้สุก ใส่ข้าวลงไปและใส่ไข่ตามแล้วผัดให้เข้ากัน แล้วใส่ผักลงไป

6. ใส่เครื่องปรุงลงไป (ปรุงรสตามใจชอบ)
            7. ตักใส่จานพร้อมรับประทาน ตกแต่ง



*********************************************************************************************************

สัปดาห์ที่ 14


วิชาการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

สัปดาห์ที่14     เวลา14.10 17.30 น.

วันที่ 16 กันยายน  2556

การเรียนการสอน
            อาจารย์ให้นักศึกษาที่ที่ค้างงานไว้ เตรียมส่งในวันที่ 30 กันยายน 2556  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน มาสอนในเรื่องของการเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน 5 กลุ่ม แล้วให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมารับกระดาษ 3 แผ่นพร้อมทั้งสี  หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานำกระดาษแผ่นที่ 1 เขียน Mind Mapping   อาหารที่อยากจะทำ           โดยกลุ่มของข้าพเจ้านำเสนอเรื่องข้าวผัด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ส่วนประกอบของข้าวผัด           วัตถุดิบ :ข้าว ,ไข่ไก่,แครอท,มะเขือเทศ,ข้าวโพด, เนื้อ หมู กุ้ง ไก่ หมึก,ต้นหอม,ถั่ว,กระเทียม

 เครื่องปรุงของข้าวผัดดังนี้:น้ำมัน,น้ำปลา,น้ำตาล,รสดี,ซีอิ๊วขวา,ซอสหอยนางรม

อุปกรณ์:กระทะ,ตะหลิว,กะละมัง,ช้อน/จาน,มีด/เขียง

 ประโยชน์ของข้าวผัด

ทำให้ร่างกายแข็งแรง,ได้รับสารอาหารครบ5หมู่,ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

 กระดาษแผ่นที่2 อาจารย์ให้เขียนขั้นตอนวิธีการทำข้าวผัด

1. ล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก  เตรียมวัตถุดิบ หั่นเนื้อหมู หั่นผัก

2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันแล้วรอให้น้ำมันร้อน

3. โขลกกระเทียมใส่กระทะ

4. พอกระเทียมเริ่มหอมแล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้

5. ผัดให้สุก ใส่ข้าวลงไปและใส่ไข่ตามแล้วผัดให้เข้ากัน แล้วใส่ผักลงไป

6. ใส่เครื่องปรุงลงไป (ปรุงรสตามใจชอบ)

7. ตักใส่จานพร้อมรับประทาน ตกแต่งให้เรียบร้อย

กระดาษแผ่นที่ 3 อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนการทำข้าวผัด

กลุ่มเพื่อนๆ ในชั้นเรียนได้ทำอาหารดังต่อไปนี้

นุ่น        แซนวิสไข่

หยก      วุ้นมะพร้าว

แอม      แกงจืดหมูสับ

อีฟ        ไข่ตุ๋น 

ในชั้นเรียนมีความเห็นตรงกันว่ามอบหมายให้กลุ่มของข้าพเจ้า เป็นคนสอนทำข้าวผัดในสัปดาห์ หน้าพร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์ เตรียมวัตถุดิบต่างๆในการทำข้าวผัด


สัปดาห์ที่ 13


วิชาการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

สัปดาห์ที่13     เวลา14.10 17.30 น.

วันที่ 9 กันยายน  2556

การเรียนการสอน

งดการเรียนการสอน

เนื่องจากอาจารย์ไปราชการต่างจังหวัด

มอบหมายงาน

ให้นักศึกษาเช็คงานที่ยังค้าง แล้วเตรียมตัวส่งสัปดาห์ที่ 10





สัปดาห์ที่ 12


วิชาการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

สัปดาห์ที่12     เวลา14.10 17.30 น.

วันที่ 2 กันยายน  2556

การเรียนการสอน

*งดการเรียนการสอน*

เนื่องจากอาจารย์ไปราชการต่างประเทศ

ศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง





สัปดาห์ที่ 11


วิชาการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

สัปดาห์ที่11 เวลา14.10 17.30 น.

วันที่ 26 สิงหาคม  2556

การเรียนการสอน

อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมงานมุทิตาจิต

ผศ.กรรณิการ์   สุสม  ที่ห้องประชุมคณะศึกษาศาสตร์


สัปดาห์ที่ 10


วิชาการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

สัปดาห์ที่10     เวลา14.10 17.30 น.

วันที่ 12 สิงหาคม  2556

การเรียนการสอน

“งดการเรียนการสอน”

  เนื่องจากเป็นวันสำคัญวันแม่แห่งชาติ


สัปดาห์ที่ 9


วิชาการจัดประสบการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

สัปดาห์ที่9       เวลา14.10 17.30 น.

วันที่ 5 สิงหาคม  2556

การเรียนการสอน        (เรียนชดเชย เพิ่มเติม)

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

เตย                ทำเฮรีคอปเตอร์กระดาษ    

เฟิร์น              ทำไก่กระต๊าก

ฝน                 ทำกังหันลมจิ๋ว

แอม               ทำโบว์ลิ่ง

อีฟ                 ทำใบพัดสามแฉก

ตาล               โยโย่ผสมสี              (ข้าพเจ้า)

หลัน              ทำลูกข่างจากแผ่น CD

ริตา               ทำเรือพลังยาง

ปูนิ่ม              ทำคอปเตอร์จากไม้ไอติม

ฝน                ทำรถไถจากหลอดด้าย

จากการเรียนการสอนในครั้งนี้ อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ การทำสื่อวิทยาศาสตร์ สื่อบางสื่อสามารถต่อยอด ให้ทำเป็นของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์ได้




ของเล่นวิทยาศาสตร์

“โยโย้ ผสมสี”

อุปกรณ์             กระดาษแข็ง      กระดาษสี2 สี   เชือก

 วิธีการทำ

            ตัดกระดาษแข็งให้เป็นรูปวงกลม ตัดกระดาษสีนำไปติดกับกระดาษแข็ง จากนั้นเจาะรูสองที่ เพื่อใส่เชือก ใส่เชือกร้อยที่รูที่เจาะไว้มัดปากเพื่อเก็บสายให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จเล่นได้




วิธีเล่น

จับเชือกด้วยมือซ้าย ขวา ใช้ข้อมือ หมุนเชือกให้หมด แล้วปล่อยดึงยืดเข้า-ออกไปมาสังเกตสีที่อยู่กระดาษแข็งจะเกิดการผสมเป็นสีต่างๆ

หลักการ

            การสะสมพลังงานการหมุนเหวี่ยง โดยมีเชือกในการหมุนเพื่อสะสมให้เกิดการเหวี่ยงและหมุนอย่างรวดเร็ว


            มอบหมายงาน

ให้นักศึกษาแต่ละคนเตรียมการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมานำเสนอให้อาจารย์